ปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดหลัง

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Posted by noobo

http://assets.aarp.org/external_sites/adam/graphics/images/en/17156.jpg

ปวดหลังเป็นอาการไม่ใช่โรค อาการปวดหลังเป็นอาการ ที่พบได้บ่อยและมักจะหายไปได้เอง โดยอาจมิต้องการรักษาใดๆ ร้อยละ 90 ถึง 95 เป็นอาการปวดหลังที่ไม่ทราบสาเหตุคือ แพทย์ไม่สามารถจะจับตัวต้นเหตุแห่งอาการปวดได้ สาเหตุของการปวดหลังที่สำคัญและสามารถยืนยันได้คือ กับตัวผู้ป่วยได้แก่

  1. สาเหตุ ของความผิดปกติแต่กำเนิดในโครงสร้างของกระดูกสันหลัง
  2. สาเหตุของการติดเชื้อ อาจเป็นวัณโรค, เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา ฯลฯ
  3. สาเหตุจากมะเร็งกระดูก
  4. สาเหตุจากการอักเสบของข้อ
  5. สาเหตุจากโรคระบบเมตาบอลิค
  6. สาเหตุจากการบาดเจ็บที่รุนแรง

อาการปวดหลังที่ไม่ทราบสาเหตุมักจะมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือ

1. ปัจจัยเสี่ยงส่วนตัวหรือทั่วไป ได้แก่

  • เพศ
  • สูบบุหรี่
  • ความอ้วน
  • ร่างกายไม่แข็งแรงไม่ชอบเล่นกีฬา
  • เคยมีประวัติอาการปวดหลังมาก่อนหรือไม่
  • เคยถ่ายภาพรังสีของกระดูกสันหลัง แล้วพบสิ่งผิดปกติในโครงสร้างของกระดูก
2. ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงาน
  • ลักษณะงานเป็นงานหนัก งานแบกหาม งานก้มๆ เงยๆ หรือเป็นงานนั่งโต๊ะ
  • น้ำหนักของสิ่งของที่ต้องยกทุกวัน เกิน 25 ปอนด์หรือไม่ (2.25 ปอนด์=1 กิโลกรัม)
  • ความถี่ของการทำงาน
  • งานที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน เช่น เย็บจักร นั่งทำงานกับพื้น
  • งานที่ต้องใช้ความต้องการทางฟิสิกสูง
  • งานที่สั่นสะเทือน เช่น ขับรถยนต์ จักรยานยนต์
3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ
  • เป็นคนเครียด กังวล
  • เป็นคนสมาธิสั้น ไม่ชอบงานที่ทำ เป็นงานน่าเบื่อ
  • เข้าใจผิดในเรื่องของงาน เช่น โทษว่าปวดหลังเกิดจากงานที่ทำ เมื่อทำงานก็จะปวด
  • ต้องการการชดเชย เช่น มักจะขาดงานเพื่อไปปรึกษาแพทย์ แต่ก็จะได้เงินเดือนเต็มทุกเดือน เคยมีการศึกษาพบว่า สำหรับงานที่คิดเป็นรายชิ้น คนงานจะทำเต็มที่แบบหามรุ่งหามค่ำ แม้แพทย์ลงความเห็นว่าทำงานไม่ได้แต่พวกเขาก็จะทนทำให้ได้ ขณะที่คนงานบางคนที่ได้เงินค่าจ้างเป็นเงินเดือน มักจะมีข้ออ้างในการขาดงานเสมอ

0 ความคิดเห็น: